1. ตั้งกรรมการวิเคราะห์หลักสูตร 6 - 10 คน
คณะกรรมการวิเคราะห์หลักสูตร จำนวน 6 – 10 คน ควรประกอบด้วย ครูผู้สอนประจำวิชา และ นักวัดผลผู้รู้เทคนิคการวิเคราะห์หลักสูตร
2. ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง กรรมการวิเคราะห์หลักสูตรสมควรศึกษาเอกสารเกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักสูตร คู่มือครู แผนการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความ แจ่มชัดในจุดประสงค์และเนื้อหารายวิชา ก่อนทำการวิเคราห์หลักสูตร
3. แบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆ ตามความเหมาะสม
4. วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ หรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังในแต่ละเนื้อหาออกเป็นพฤติกรรมทางการศึกษา ตัวอย่างเช่น
เรื่องที่ 1 กินดีมีสุข
การแบ่งเนื้อหาที่จะออกข้อสอบเป็นตอน ๆ ตามความเหมาะสม ต้องกำหนดให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดที่ครูได้ทำการสอน
เรื่องที่ 1 กินดีมีสุข
1. บอกชื่อสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายได้ (ความรู้ความจำ)
2. ยกตัวอย่างอาหารประเภทต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายได้ (การนำไปใช้)
3. อธิบายประโยชน์ของสารอาหารและโทษของการขาดสารอาหารได้ (ความเข้าใจ)
4. เสนอแนะการรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วนและเหมาะสมกับเพศและวัยของตนเอง (การนำไปใช้)
5. บอกพฤติกรรมการกินอาหารที่มีผลดีและผลเสียต่อสุขภาพ (การนำไปใช้)
6. อธิบายการใช้สารเจือปนในอาหาร และอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ (ความเข้าใจ)
เรื่องที่ 2 พลังงานแสง
1. บอกแหล่งที่ให้แสงสว่างได้ (ความรู้ความจำ)
2. บอกประโยชน์ของแสงสว่างที่มีต่อโลกมนุษย์ได้ (ความรู้ความจำ)
3. นำความรู้เรื่องแสงไปใช้ประโยชน์ได้ (การนำไปใช้)
4. ทดลองและอธิบายการเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิดได้ (ทักษะพิสัย , ความเข้าใจ)
5. ทดลองและอธิบายการเดินทางของแสงเมื่อกระทบกับตัวกลางชนิดต่าง ๆ ได้ (ทักษะพิสัย , ความเข้าใจ)
6. ร่วมกิจกรรมกลุ่มทำการทดลองด้วยความรับผิดชอบ (จิตพิสัย)
5. ให้กรรมการทุกคนกำหนดน้ำหนักลงในตารางรายบุคคล
โดยกรรมการแต่ละคนต้องพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหากับพฤติกรรมในจุดประสงค์การเรียนรู้ แล้วกำหนดน้ำหนักความสำคัญลงในตารางรายบุคคล ให้น้ำหนักความสำคัญแต่ละช่อง เท่ากับ 10 คะแนน ในขั้นตอนนี้ต้องอาศัยข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร ในขั้นตอนที่ 2 และการวิเคราะห์จุดประสงค์ ในขั้นที่ 4 รวมทั้งอาศัยประสบการณ์ในการสอนของตนเองด้วย
ตัวอย่างตารางรายบุคคลของกรรมการคนที่ 1
ตัวอย่างตารางรายบุคคลของกรรมการคนที่ 1
6. นำตารางกำหนดน้ำหนักของกรรมการทุกคนมาทำตารางเฉลี่ย
โดยนำคะแนนแต่ละช่องของกรรมการทุกคนมาหาค่าเฉลี่ย ตัวอย่างเช่น
เนื้อหาที่ 1 ช่องที่ 1 พฤติกรรมรู้จำ กรรมการ 6 คน ให้น้ำหนักคะแนน ดังนี้ 3 2 1 3 2 หาค่าเฉลี่ยได้เท่ากับ (3+2+1+3+2+2)/6 = 13/6 =2.17 = 2
ตัวอย่างตารางเฉลี่ย
โดยนำคะแนนแต่ละช่องของกรรมการทุกคนมาหาค่าเฉลี่ย ตัวอย่างเช่น
เนื้อหาที่ 1 ช่องที่ 1 พฤติกรรมรู้จำ กรรมการ 6 คน ให้น้ำหนักคะแนน ดังนี้ 3 2 1 3 2 หาค่าเฉลี่ยได้เท่ากับ (3+2+1+3+2+2)/6 = 13/6 =2.17 = 2
ตัวอย่างตารางเฉลี่ย
7. ปรับตารางเฉลี่ยให้มีผลรวมเท่ากับร้อย
โดยวิธีการเทียบบัญญัติไตรยางค์ เช่น
จำนวนรวมในตารางเฉลี่ยเท่ากับ 51 ต้องการปรับให้ เท่ากับ 100
ช่องที่มีค่า 2 จะเท่ากับ (100/51)x2=3.92=4
ช่องที่มีค่า 3 จะเท่ากับ (100/51)x3=5.88=6
ช่องที่มีค่า 4 จะเท่ากับ (100/51)x4=7.84=8
ฯลฯ
ตัวอย่างตารางร้อย
8. ปรับตารางร้อยให้มีผลรวมเท่ากับจำนวนข้อสอบที่ต้องการโดยวิธีการเทียบบัญญัติไตรยางค์ เช่น
จำนวนรวมในตารางเฉลี่ยเท่ากับ 51 ต้องการปรับให้ เท่ากับ 100
ช่องที่มีค่า 2 จะเท่ากับ (100/51)x2=3.92=4
ช่องที่มีค่า 3 จะเท่ากับ (100/51)x3=5.88=6
ช่องที่มีค่า 4 จะเท่ากับ (100/51)x4=7.84=8
ฯลฯ
ตัวอย่างตารางร้อย
โดยวิธีการเทียบบัญญัติไตรยางค์ เช่น ต้องการออกข้อสอบ 40 ข้อ
จำนวนรวมในตารางร้อยเท่ากับ 100 ต้องการปรับให้ เท่ากับ 40
ช่องที่มีค่า 4 จะเท่ากับ (40/100)x4=1.60=2
ช่องที่มีค่า 6 จะเท่ากับ (40/100)x6=2.40=2
ช่องที่มีค่า 8 จะเท่ากับ (40/100)x8=3.20=3
ฯลฯ
ตัวอย่างตารางสำหรับข้อสอบ 40 ข้อ